รัชการที่ 9 กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  โครงการที่ได้เลือกมานำเสนอในครั้งนี้

     
 1.“ฝนหลวง” เย็นชุ่มฉ่ำหัวใจไทยมิรู้ลืม
                   
               2.“แก้มลิง” กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง

                   
                 3.“กังหันน้ำชัยพัฒนา” ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน 

                                        

                                      4.“ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ 

                         

                      5.แหลมผักเบี้ย- หนองหาร โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม



.“ฝนหลวง” เย็นชุ่มฉ่ำหัวใจไทยมิรู้ลืม


     

หลักการทำฝนหลวงมีขั้นตอนโปรย “ผงเกลือแป้ง” เพื่อเป็นแกนในการดูดความชื้นในอากาศ จากนั้นใช้สารเคมีอีกหลายชนิดเพื่อช่วยในการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) เช่น เกลือแกง ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรตและน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น จนเมื่อเมฆเติบโตและเคลื่อนสู่เป้าหมายก็ใช้เทคนิคจู่โจมกลุ่มเมฆ โดยโปรยเกลือโซเดียมคลอไรด์ทับยอดเมฆและฐานเมฆและโปรยผงยูเรียเพื่อให้อุณหภูมิลดลง ทำให้เกิดเม็ดน้ำขนาดใหญ่แล้วตกกลายเป็นฝนในที่สุด


   “แก้มลิง” กักตุนแล้วระบายน้ำตามแรงโน้มถ่วง



      โครงการ “แก้มลิง” เป็นอีกโครงการที่ช่วยซับความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย ซึ่งดำเนินการโดยระบายน้ำจากตอนบนให้ไปตามคลองในแนวเหนือใต้สู่คลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่ชายทะเล เมื่อระดับน้ำในทะเลลดต่ำกว่าในคลองก็ระบายน้ำออกจากคลองทางประตูระบายน้ำด้วยหลักการแรงโน้มถ่วงของโลก

                                         
                                                     “กังหันน้ำชัยพัฒนา” ปั่นน้ำเสียเติมออกซิเจน 
  
                                             

        “กังหันน้ำชัยพัฒนา” คือเครื่องกลเติมอากาศที่เป็นกังหันน้ำแบบทุ่นลอยซึ่งใช้ในการบำบัดน้ำเสีย



โดยใช้กังหันวิดน้ำไปบนผิวน้ำแล้วปล่อยให้ตกลงผิวน้ำตามเดิม และน้ำจะถูกสาดกระจายสัมผัสอากาศทำให้ออกซิเจนละลายในน้ำ น้ำเสียจึงมีคุณภาพดีขึ้น สามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียทั้งจากแหล่งชุมชน อุตสาหกรรม   และการเกษตร
                                  
                             

                                     “ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์

                                 


       โครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล”

            
                                                                       
                                                                      แหลมผักเบี้ย- หนองหาร โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม
        


โครงการตามแนวพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอย และรักษาสภาพป่าชายเลน ทั้งนี้ แบ่งการบำบัดเป็น ๒ ส่วนคือระบบบำบัดหลักและระบบบำบัดรอง สำหรับระบบบำบัดหลักนั้น ซึ่งมีบ่อสำหรับตกตะกอนและปรับสภาพน้ำเสียจำนวน ๕ บ่อ โดยส่งน้ำเสียผ่านท่อไปยังบ่อบำบัดและในบ่อสุดท้ายจะมีคณะวิจัยตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนส่งต่อ
ส่วนระบบบำบัดรองนั้นอาศัยการบำบัดโดยธรรมชาติ ประกอบด้วย ๑.ระบบบึงชีวภาพ ซึ่งจะปลูกพืชที่สามารถเจริญได้ดีในน้ำขังเสีย ดูดซับสารพิษและสารอินทรีย์ได้ เช่น กก อ้อ เป็นต้น ๒.ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าแฝก หญ้านวลน้อย หญ้ารูซี่ เป็นต้น โดยจะส่งน้ำเสียไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะๆ และ ๓.ระบบกรองด้วยป่าชายเลน โดยในพื้นที่ป่าชายเลนจะปลูกโกงกาง แสมขาว เป็นต้น เพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติ น้ำที่ผ่านป่าชายเลนก็จะได้การบำบัดตามธรรมชาติ




ข้อมูลเพิ่มเติมและรูปภาพต่างๆ


รูปภาพ

ประวัติ
บทเพลง
https://www.4shared.com//home.jsp#dir=bJFu-fe5

อ้างอิงข้อมูลมาจาก

*-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------*




ความคิดเห็น